Skip to content
ชาวบ้านปาดน้ำตา 100 ปีไม่มีไฟฟ้าใช้ ! | รายการ โหนกระแส

ชาวบ้านปาดน้ำตา 100 ปีไม่มีไฟฟ้าใช้ ! | รายการ โหนกระแส

รายการโหนกระแส ออกอากาศวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2021 ทางช่อง 3HD ได้มีการนัดชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกเรื่องนี้

ลุงโต่ย อายุ 59 ปี อยู่ที่บ้านประดู่ หมู่ 9 อ.ปราสาท (จ.สุรินทร์) ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยมีไฟฟ้าใช้ รุ่นพ่อรุ่นแม่ 70-80 ล้มหายตายจากไปก็ไม่มีไฟใช้ นอกจากเครื่องปั่นไฟพอถึง 2 ทุ่มก็ดับ

โดยหมู่บ้านมีทั้งหมด 7 ครัวเรือน อาศัยอยู่ประมาณ 32-34 คน มีเด็กนักเรียน 4 คน เวลามีการบ้านก็จุดเทียนเขียนหนังสือครับ หรือไม่ก็ใส่แบตที่หัว (ไฟที่ใช้ส่องกบ) ถ้ามีเรียนออนไลน์ก็ต้องเข้าไปในหมู่บ้าน

ด้านพี่บุญเลี้ยงร้องไห้ พร้อมกับยกมือไหว้ขอให้ช่วย เพราะทุก ๆ คนอยากได้ไฟฟ้าใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยร้องไปที่นายก อบต. หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่เขาก็ไม่ช่วย ได้คำตอบกลับมาว่าช่วยไม่ได้เพราะไม่มีงบ ศูนย์ดำรงธรรมผมก็เคยไปแต่ก็ได้คำตอบเหมือนเดิมคือไม่ได้

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยมีเอาเสาไฟมาลง แต่มีเรื่องขัดกันไม่ให้มาลงเนื่องจากเกิดการโต้เถียงกันเอง จู่ ๆ เขาก็เอาเสาไปคืน เป็นเรื่องของผู้ใหญ่บ้านขัดกันเอง

หลังจากนั้นก็มีพวกนายก อบต. พวกผู้นำ พวกผู้ใหญ่ กำนัน มาหาเสียง ก็ให้สัญญาทำนองว่าถ้าได้แล้วจะช่วย (ช่วยเป็นโซลาเซลล์) แต่เมื่อได้รับเลือกก็ยังไม่ได้ตามที่เคยสัญญา

ทีนี้ปัญหามันซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เพราะว่ามีการอ้างว่ามันเป็นที่สาธารณะ แล้วก็อ้างสิทธิ์ในที่ดินที่ทับซ้อนกัน ก็เลยเป็นที่มาที่ลุงโต่ยเข้าใจว่าเป็นเหตุที่เขาไม่ให้ไฟใช้

ปัญหาต่อมาคือ เสาไฟเวลามาต้องมีการปักเสามาตามทาง ซึ่งทางที่ปักเหล่านั้นมันอาจจะเป็นที่ของคนอื่น หรืออาจจะเป็นที่ของทางภาครัฐ

ท่านรองณัฐวรรธน์ อัศวรุ่งเรืองกุล รองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงชี้แจงว่า อย่างแรกก็คือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ไฟฟ้าได้ถอนเสาไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ปรากฏว่าพอจะเริ่มดำเนินการก็มีการคัดค้าน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเกิดจากเสาไฟอาจจะไปปักในที่ที่ของราชการหรือเอกชนอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร ซึ่งทำให้หลังจากวันนั้นถึงวันนี้ 20 ปีกว่าก็ไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะยังมีข้อพิพาทเรื่องนี้อยู่

เมื่อเกิดเรื่องร้องเรียนก็เข้าไปดูพื้นที่ อย่างแรกที่น่าจะทำได้คือทำไฟชั่วคราว จนกว่าจะมีการเคลียร์เรื่องที่ดินให้เรียบร้อย

ถ้าจะเอาไฟเข้าจริง ๆ ห่างจากไฟเก่าที่สามารถจ่ายไฟได้ถาวรก็ประมาณ 1 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 1 ล้าน 3 แสนกว่าบาท

Source: โหนกระแส (Hone-Krasae) Official